รู้ทันกลโกงนายหน้าสินเชื่อ หรือมิจฉาชีพ
อาชีพนายหน้า คือบุคคลตัวแทนที่มีบทบาทในการดูแลช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อขาย โดยการติดต่อสื่อสารหาลูกค้า ให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์ ให้คำปรึกษา รวมถึงการประสานงานเป็นคนกลางในการเจรจาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
เพื่อปิดการขายให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งมีบทบาทในสายธุรกิจต่างๆ เช่น ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
โดยทั่วไปอาชีพนายหน้าสินเชื่อ มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
ซึ่งนายหน้าสินเชื่อทั้ง 2 รูปแบบนี้ มีความแตกต่างอย่างไร ให้สังเกตอย่างไรบ้างมาดูกัน
นายหน้าสินเชื่อที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เป็นนายหน้าที่ถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งทางธนาคารได้มีการมอบหมายให้บุคคลหรือตัวแทนคนกลางจากทางธนาคารโดยตรง มีหน้าที่ติดต่อสื่อสารในการแนะนำหรือขายสินเชื่อ เพราะฉะนั้น นายหน้าสินเชื่อจะต้องแสดงหลักฐานตัวตนให้ชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าได้รับทราบข้อมูลหลักฐานความถูกต้อง และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือว่ามาจากการแต่งตั้งจากธนาคารจริง ซึ่งโดยปกติแล้วหน้าที่นายหน้าสินเชื่อเมื่อมีการแนะนำขายสินเชื่อมี 2 แบบ คือ
หรือขายสินเชื่อ เพราะฉะนั้น นายหน้าสินเชื่อจะต้องแสดงหลักฐานตัวตนให้ชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าได้รับทราบข้อมูลหลักฐานความถูกต้อง และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือว่ามาจากการแต่งตั้งจากธนาคารจริง
ซึ่งโดยปกติแล้วหน้าที่นายหน้าสินเชื่อเมื่อมีการแนะนำขายสินเชื่อมี 2 แบบ คือ
ดังนั้น วิธีการสังเกตง่ายๆว่าการเป็นตัวแทนนายหน้าสินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันทางการเงินหรือไม่นั้น นอกจากได้กล่าวไปแล้วข้างต้น นายหน้าสินเชื่อของกลุ่มนี้จะต้องไม่มีการเรียกร้องหรือเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
หรือค่าหัวคิวเป็นอันขาด ที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ยกเว้นสำหรับค่าใช้จ่ายในการขอสินเชื่อ ที่ไม่มีค่าหลักประกัน เมื่อธนาคารหรือสถาบันทางการเงินได้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายไปแล้ว จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้อย่างถูกต้องตามรายละเอียดดังนี้
ยกตัวอย่างประเภทค่าใช้จ่ายธนาคาร
* ข้อมูล ณ 20 พ.ย.65 โปรดตรวจสอบรายละเอียดค่าใช้จ่ายและอัตราค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บอีกครั้งเมื่อต้องการกู้เงินจากธนาคาร
วิธีการป้องกันจากมิจฉาชีพนายหน้า ทำได้อย่างไร
นายหน้าสินเชื่อเถื่อน ที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งจากสถาบันการเงิน หรือนายหน้าสินเชื่อมิจฉาชีพ กลุ่มคนประเภทนี้ จะแอบแฝงปลอมตัวมาในรูปแบบของผู้หวังดีที่มีเป้าหมายเพื่อต้องการหวังผลประโยชน์จากผู้ขอกู้สินเชื่อ
โดยการทำตัวเป็นสื่อตัวกลางให้ความช่วยเหลือกับผู้ขอกู้สินเชื่อ ในรูปแบบการพาผู้ต้องการขอกู้ไปทำเรื่องที่สถาบันการเงิน หรือช่วยประสานงานเดินเรื่องกู้สินเชื่อผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนายหน้าสินเชื่อเถื่อนจะมีการเรียกร้อง
ขอรับผลประโยชน์จากคนขอกู้สินเชื่อไม่เกิน 30%/ครั้ง ส่วนใหญ่แล้วนายหน้าสินเชื่อเถื่อน หรือมิจฉาชีพจะเรียกเก็บเงินจากผู้ขอกู้สินเชื่อก่อน เนื่องจากว่าผู้ขอกู้มีความไม่แน่นอนว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับการอนุมัติจากสถาบันการเงินธนาคาร
ได้หรือไม่ หรือบางกรณีหากผู้ขอกู้สินเชื่อไม่ผ่านการอนุมัติจากสถาบัน พวกมิจฉาชีพอาจจะส่งคืนให้บางส่วนหรือไม่คืนเงินให้ทั้งหมดก็ได้ เพราะถือว่าเป็นค่าใช้จ่าย หักค่าเสียเวลาของนายหน้าแทน ซึ่งสุดท้ายแล้วนายหน้าสินเชื่อเถื่อน
หรือมิจฉาชีพจะทำการหลบหนีแล้วบล็อกทุกอย่าง เช่น เบอร์โทรศัพท์ เฟสบุ๊ค ไลน์ จำทำให้ขาดการติดต่อทุกช่องทางไปในที่สุด
เพราะสาเหตุใด ผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อหรือผู้กู้ ต้องพึ่งพาจากตัวแทนนายหน้าสินเชื่อ
เนื่องจากปัจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคในสื่อสังคมออนไลน์มีจำนวนมาก ทำให้ผู้ขอกู้มีความต้องการใช้เงินจากสถาบันการเงิน เพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตด้วยปัจจัย 4 กับสิ่งจำเป็น ที่ช่วยพยุงให้ปลอดภัยและอยู่รอดได้จากทุกสถานการณ์
ดังนั้น ทำให้ที่ต้องการสินเชื่อ หรือผู้ขอกู้ต้องพึ่งพาเสี่ยงการใช้บริการจากนายหน้าสินเชื่อเถื่อน หรือมิจฉาชีพ ดังนี้
1. กลุ่มคนที่ไม่มีข้อมูลหรือไม่รู้เรื่องในการขอสินเชื่อ ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมที่ผู้บริโภคแสดงออก เช่น Capture หน้าจอที่มีการแสดงรายการเดินบัญชี (Statement) แล้วนำมาโพสต์สอบถามในกลุ่มที่มีนายหน้าสินเชื่อเถื่อนอยู่ในห้องด้วย
ในทำนองว่าต้องการเดินบัญชีลักษณะดังกล่าวจะสามารถกู้ผ่านทำได้หรือไม่ ซึ่งทำให้เปิดช่องว่างของนายหน้าสินเชื่อเถื่อนได้เสนอตัวเข้ามาในรูปแบบเป็นผู้ช่วยเหลือให้กู้ผ่าน ดังนั้น ทางสถาบันการเงิน หรือธนาคารได้จัดทำสื่อเครื่องมือ
ในการคำนวณความสามารถในการกู้ให้กับผู้ที่ต้องการขอกู้ เพื่อให้ผู้ขอกู้สินเชื่อได้คำนวณในเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เพียงกรอกข้อมูลที่จำเป็นและกรอกข้อมูลตามความเป็นจริงตามขั้นตอนนี้
หลังจากนั้น เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะทำการประมวลผลออกมาให้ทราบทันทีในเบื้องต้นว่าสามารถกู้ผ่านหรือไม่ผ่าน ซึ่งในหน้าจะแสดงผลคำว่า “สมัครเลย” หากต้องการขอกู้เงินจะสามารถกดจากปุ่มดังกล่าวได้ทันที
โดยใช้ข้อมูลเดียวกับที่กรอกไปแล้วในเบื้องต้น เพราะฉะนั้น การไม่มีข้อมูลหรือไม่รู้ในการขอสินเชื่อ ไม่ใช่เรื่องผิด แต่แหล่งข้อมูลที่สอบถาม ควรเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้และปลอดภัยกับข้อมูลที่เปิดเผยได้ด้วย
2. กลุ่มคนไม่ชอบเทคโนโลยี หรือไม่รู้วิธีการใช้เทคโนโลยี ซึ่งคนกลุ่มนี้จะไม่สนใจเรื่องเทคโนโลยีหรือมีความกังวลในการใช้เทคโนโลยีในการทำธุรกรรมทางการเงิน ทำให้เมื่อต้องการกู้เงินออนไลน์ และกรอกข้อมูลหรือรายละเอียด
ทางออนไลน์ไปแล้ว ทำให้กรอกข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่ครบ หรือเข้าใจผิด จะส่งผลต่อการปฏิเสธวงเงิน และคิดไปเองว่ากลุ่มนายหน้าเถื่อนนั้นมีเคล็ดลับที่ช่วยให้ได้รับวงเงินตามต้องการได้ง่ายกว่า
3. กลุ่มคนที่เคยถูกปฎิเสธในการขอกู้เงิน ซึ่งคนกลุ่มนี้เคยถูกปฎิเสธการอนุมัติจากสถาบันการเงินมาก่อน แล้วมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินโดยที่ไม่รู้ว่าถูกปฏิเสธด้วยสาเหตุอะไรมา และไม่ทราบว่าจะสามารถทำเรื่องขอกู้เงินใหม่ได้อีกครั้ง
จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่หันไปใช้ใช้บริการนายหน้าสินเชื่อเถื่อน ในความเป็นจริงแล้วนายหน้าสินเชื่อเถื่อนก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าผู้ที่เคยขอกู้ถูกปฎิเสธด้วยสาเหตุอะไร แต่อาศัยกรอกข้อมูลของผู้ขอกู้สินเชื่อและประสบการณ์หลายๆราย แล้วไปคาดการณ์
ปัจจัยที่ทำให้วงเงินได้รับการอนุมัติ ทั้งๆที่ไม่ทราบสาเหตุของการอนุมัติ หรือปฏิเสธวงเงินที่แท้จริง จึงเอาเรื่องนี้มาเคลมเป็นผลงานของมิจฉาชีพ แล้วเอามาหลอกล่อใช้กับเหยื่อผู้ต้องการขอกู้
สำหรับผู้ที่ต้องการกู้เงินแต่ไม่ผ่านการอนุมัติ หรือกลัวว่าจะไม่สามารถทำเป็นได้ ซึ่งมีความคิดที่จะไปใช้บริการจากนายหน้าสินเชื่อเถื่อน หรือนายหน้ามิจฉาชีพ จึงขอเตือนไว้ว่าจะต้องกลับมาคิดทบทวนใหม่ เพราะการที่จะกู้ผ่านหรือไม่ผ่านนั้น
เป็นสาเหตุเนื่องมาจากคุณสมบัติของตัวผู้กู้เอง ถ้ามีคุณสมบัติดีก็สามารถกู้ผ่านได้แน่นอน แต่ถ้าไม่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขจากสถาบันการเงินที่กำหนดไว้ เช่น มีประวัติกู้แล้วไม่ส่งรายเดือนขาดการผ่อนส่งต่อเนื่อง ทำให้สถาบันการเงินต้องปฏิเสธการขอกู้เงินเป็นเรื่องปกติ
กรณีแบบนี้ต่อให้เป็นนายหน้าที่ได้รับการแต่งตั้ง และนายหน้าสินเชื่อเถื่อนก็ไม่สามารถช่วยให้ผู้กู้ผ่านได้เช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมาทางสถาบันการเงิน หรือธนาคาร ได้มีการจัดทำเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ขอกู้สามารถทำเรื่องกู้เงินผ่านช่องทางออนไลน์ได้ด้วยตนเอง
หากผู้ขอกู้ต้องการคำปรึกษาจากทาง CCAP ซึ่งมีบริการปล่อยสินเชื่อ สามารถติดต่อแอดไลน์มาได้เลยที่ CCAP คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap , เบอร์โทร: 092-256-6801
Reference
https://www.kasikornbank.com/th/credit-insight/pages/get-to-know-illegitimate-broker.aspx