วิธีการบริหารหนี้สินให้เป็น แถมมีเงินสดสำรองใช้
คนที่มีชีวิตที่ไร้หนี้สิน เป็นสิ่งที่ใครหลายๆคนนั้นปรารถนาเป็นอย่างมาก นั่นเพราะไม่ต้องมีภาระที่ต้องดูแลรับผิดชอบ จะใช้จ่ายอะไรก็ย่อมง่ายโดยไม่ต้องมากังวลเรื่องรายจ่าย แต่ในทางโลกแห่งความเป็นจริงนั้น
ในการประคับประคองตัวไม่เป็นหนี้สินในยุคปัจจุบันเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก เนื่องจากคนหลายคนที่เป็นหนี้เพราะต้องการสร้างความสุขความมั่นคงให้กับครอบครัวด้วยกันทั้งนั้น เช่น หนี้ผ่อนชำระรถยนต์ หนี้บ้าน
หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล ฯลฯ อย่างที่หลายคนที่เป็นหนี้ เพื่อต้องการมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคนที่เรารัก ดังนั้นการเป็นหนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป
ด้วยเหตุนี้ ใครหลายๆคนจึงต้องดิ้นรนเพื่อมองหาหนทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่นิยมนั่นคือ การพึ่งสถาบันทางการเงิน หรือบริษัทปล่อยสินเชื่อต่างๆ รวมถึงนายหน้าแหล่งเงินทุน เพื่อต้องการหารายได้เพิ่ม
ที่จะใช้ค้ำจุนในการดำเนินชีวิตต่อไป ท้ายที่สุดแล้ว จึงเป็นสาเหตุให้เกิดภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นไปอีก สำหรับใครที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์รายรับน้อยลงจนไม่พอกับรายจ่าย และกำลังกังวลว่าจะทำยังไงให้หมดหนี้นี้แล้ว CCAP ขอแนะนำเทคนิค
เริ่มจากการบริหารวางแผนหนี้ อย่างไร มาเล่าสู่กันตามลำดับให้ฟัง เพื่อให้คุณได้รู้จักกับวิธีจัดการหนี้ให้อยู่หมัด คลายปมปัญหาหนี้สินได้ในที่สุด
1. ตั้งสติ รวบรวมหนี้สินที่มี
อันดับแรกเริ่มต้นตั้งสติให้มั่นแล้วสำรวจเงินของตนเอง โดยเริ่มจากทำรายจ่ายหนี้สินมีรายการไหนบ้าง เพื่อให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนมากขึ้น เช่น หนี้ผ่อนบ้าน หนี้ผ่อนรถยนต์ หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้ธุรกิจ ฯลฯ
เพื่อนำรายการรายละเอียดค่าใช้จ่ายมาสรุปให้ครบ ให้แน่ใจว่า ณ ปัจจุบันมีหนี้สินที่แท้จริงทั้งหมดกี่บาท และแต่ละรายการคิดอัตราดอกเบี้ยกี่เปอร์เซ็นต์ จะทำให้การวางแผนบริหารการจัดการหนี้สินที่มีได้อย่างครบถ้วน โดยสามารถใช้ได้หลายวิธี
อย่างเช่น การนำใบเสร็จรับเงินหรือใบแจ้งหนี้มาทำการจดบันทึกยอดหนี้ทั้งหมด เพื่อมองเห็นภาพหนี้โดยรวม หรือใช้วิธีการกรอกตัวเลขลงในตารางโปรแกรม Excel เพื่อคำนวณยอดหนี้รวมทั้งหมดก็ได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ง่ายต่อการวางแผนได้อย่างรวดเร็ว
2. จดบันทึกรายรับและรายจ่ายทั้งหมด เพื่อเตรียมวางแผนชำระหนี้
อันดับที่ 2 คือ หลังจากที่เราทราบรายละเอียดหนี้สินทั้งหมดแล้ว ให้ลิสรายการว่ามีรายรับแต่ละเดือนเท่าไหร่ รายจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดแต่ละเดือนเท่าไหร่ และทรัพย์สินที่เรามีอยู่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันทีจำนวนเท่าไหร่ เช่น
สลากออมทรัพย์ ทองคำ พระเครื่อง รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งทรัพย์สินเหล่านี้สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ แล้วมาคำนวณว่ามีเพียงพอต่อการชำระหนี้สินทั้งหมดในแต่ละเดือนได้หรือไม่
ซึ่งถ้าหากมีรายจ่ายที่เกิดขึ้นในความจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงิน ถึงจะเป็นรายจ่ายเล็กน้อยก็ตาม ก็ต้องบันทึกสรุปออกมาให้ครบอย่างละเอียด เพื่อที่จะทราบให้แน่ชัดได้ว่าจะสามารถปรับหรือตัดส่วนไหนได้ให้เหลือรายจ่ายน้อยลง
โดยเฉพาะคนที่กำลังเจอปัญหารายได้หรือรายรับลดลง เช่น คนที่ถูกปรับลดเงินเดือน คนที่ทำธุรกิจมียอดขายกำไรน้อยลง ฯลฯ เพราะฉะนั้น ในการทำสรุปรายรับรายจ่ายอย่างละเอียด มีผลทำให้ทราบถึงสถานการณ์ทางการเงินที่ชัดเจน
และทำให้ต้องบริหารจัดการกับรายจ่ายด้วยวิธีไหน เพื่อให้มีเงินสดเหลือสำหรับใช้จ่ายหนี้ได้ในแต่ละเดือน
3. วางแผนจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ
อันดับที่ 3 การวางแผนจัดการหนี้อย่างเป็นระบบเมื่อจัดอันดับความสำคัญหนี้ได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เรียงลำดับหนี้สินเป็น 2 กลุ่มโดยแบ่งเป็นหนี้สินระยะสั้น, หนี้สินระยะยาว
กลุ่มหนี้สินระยะสั้น คือ หนี้สินที่มียอดชำระไม่เกิน 1 ปี
กลุ่มหนี้สินระยะยาว คือ หนี้สินที่มีกำหนดชำระคืนเงินต้นมากกว่า 1 ปีขึ้นไป
เมื่อจัดกลุ่มหนี้สิน 2 กลุ่มนี้แล้ว ให้นำรายการหนี้สินมาเรียงลำดับ เพื่อเตรียมการวางแผนจัดการชำระหนี้ตามรายรับที่ได้เหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารชำระหนี้สินอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เลือกจ่ายชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงสุดก่อน
เพื่อเป็นการช่วยประหยัดเงินค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเพิ่ม หรือ เลือกจ่ายชำระหนี้ที่มียอดคงเหลือน้อยที่สุด เพื่อช่วยสร้างกำลังใจในการบริหารจัดการหนี้สินในก้อนต่อไปได้
4. แก้ไขปัญหาหนี้ด้วยการหยุดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นก่อน และหยุดสร้างหนี้เพิ่ม
อันดับสุดท้ายสำคัญที่สุดให้หยุดพฤติกรรมการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย นั่นหมายความว่า ให้หยุดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน เช่น งดช๊อปปิ้งซื้อเสื้อผ้าตัวใหม่เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรืออาจจะใช้วิธีหันมาประหยัดค่าน้ำ-ค่าไฟมากขึ้น
หรืองดการสังสรรค์กับเพื่อนฝูงที่ต้องทานอาหารนอกบ้าน ฯลฯ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาหนี้สินให้เป็นเรื่องง่ายที่สามารถปลดหนี้ได้ตามที่ต้องการ และควรงดหรือหลีกเลี่ยงการใช้บัตรเครดิตหลายๆใบ ให้หันมาเก็บเงิน ซื้อของด้วยเงินสดแทน
ทำให้ไม่ใช่แค่มีเงินปลดหนี้สินเท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยสร้างวินัยทางการเงินที่ดีให้เราอีกด้วย
วิธีการปรับโครงสร้างของการ “รวมหนี้”
หลังจากที่วางแผนการใช้หนี้สินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งช่วยให้เห็นภาพรวมหนี้สินทั้งหมดได้อย่างชัดเจน จากนั้นก็นำมาจัดการเข้าสู่ของการรวมหนี้ เพื่อต้องการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน โดยลดภาระดอกเบี้ย และลดการผ่อนค่างวด
มาติดตามบทความกันต่อเลย
การรวมหนี้ คืออะไร
คือ การรวมหนี้สินต่างๆ จากหลายแห่งทั้งหมด มาไว้กับสถาบันทางการเงินเพียงแห่งเดียว เพื่อเป็นการขอสินเชื่อใหม่ให้มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเดิมหรือหนี้เก่า และช่วยให้ระยะเวลาการผ่อนชำระที่สะดวกขึ้น โดยการนำเงินที่ได้จากการกู้
สินเชื่อรวมหนี้ใหม่ไปปิดของเดิมหรือหนี้เก่าทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ภาระการผ่อนจ่ายต่อเดือนลดลง และช่วยให้มีสภาพคล่องมากยิ่งขึ้น จึงเป็นวิธีที่ช่วยในการบริหารจัดการลดหนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม แต่ละสถาบันทางการเงินจะมีเงื่อนไขตามที่กำหนด
ควรจะต้องศึกษาหาข้อมูลอ่านรายละเอียดก่อนจะทำการตัดสินใจขอสินเชื่อ
รูปแบบของการรวมหนี้มีทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ
ข้อดีของการรวมหนี้
สำหรับใครมีภาระหนี้สินหนักเกินแบกรับมือไหว และอยากขอตัวช่วยสินเชื่อรวมหนี้เป็นก้อนเดียว แน่นอนได้ว่าสินเชื่อรวมหนี้คือทางออกของการแก้ปัญหา ที่ช่วยให้เราปิดหนี้ง่ายขึ้น และเป็นไปตามเป้าหมาย แต่ต้องแน่ใจว่า
ถ้าหากตัดสินใจกู้รวมหนี้แล้ว จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างความมีวินัยทางการเงินให้เป็นอีกด้วย แต่สิ่งที่ต้องมีอยู่เสมอคือ ขยันผ่อนในช่วงระหว่างการผ่อนชำระให้เป็นนิสัย เพราะต่อให้สินเชื่อมีข้อเสนอที่ดีอย่างไร
หากขาดวินัยใช้จ่ายเกินความจำเป็น ก็จะทำให้มีโอกาสเป็นหนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมก็ย่อมได้อีกแน่นอน
หากสนใจสินเชื่อรวมหนี้เป็นก้อนเดียว สามารถปรึกษาขอสินเชื่อกับ CCAP ที่ให้บริการประทับใจ เพื่อช่วยคุณดูแลการเงินที่ดีขึ้น ติดต่อสอบถามหรือแอดไลน์มาได้เลยที่ CCAP
คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap , เบอร์โทร: 092-256-6801
Reference