เลือกเป็นหนี้เพราะจำเป็น ดีกว่าเป็นหนี้เพราะตามใจตัวเอง

26 June 2025

จากรายงานเรื่อง “หนี้ครัวเรือนของไทย วิกฤตแค่ไหน ทำไมถึงไม่ควรมองข้าม” พบว่า คนไทยจำนวนมากกำลังเผชิญกับปัญหาหนี้สินเป็นจำนวนมากสามารถอธิบายดังนี้

  • ปัจจุบัน คนไทยประมาณ 37% หรือ เกือบ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด มีภาระหนี้สิน
  • ในจำนวนนี้ 57% มีหนี้เกิน 100,000 บาท และที่น่าตกใจคือ 14% มีหนี้สูงกว่า 1 ล้านบาท
  • หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น สินเชื่อบุคคล 39% และบัตรเครดิต 29% รวมกันแล้วคิดเป็น 68% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งเท่ากับประมาณ 2 ใน 3 ของระบบ
  • ขณะที่ หนี้ที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้หรือทรัพย์สินในระยะยาว เช่น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อธุรกิจ กลับมีสัดส่วนรวมกันไม่ถึง 10% โดยแต่ละประเภทอยู่ที่ เพียง 4% เท่านั้น

ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการก่อหนี้เพื่อการบริโภค มากกว่าการลงทุนในทรัพย์สินหรือกิจการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของครัวเรือนไทยในระยะยาว

5 ตัวช่วยในการตัดสินใจ เมื่อจะต้องเป็นหนี้

1. ถ้าไม่ซื้อ มีผลกระทบกับชีวิตเราอย่างไร?
การตั้งคำถามว่าหากเราไม่ซื้อสินค้านี้ จะส่งผลกระทบกับชีวิตหรือการทำงานของเรามากแค่ไหน เช่น หากซื้อรถยนต์เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ (เช่น เซลส์แมน หรือพ่อค้าแม่ค้า) ซึ่งการขาดรถอาจทำให้การเดินทางยากขึ้น อาจบอกได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็น แต่ถ้าซื้อรถเพียงเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปทำงานหรือท่องเที่ยวในวันหยุด อาจจะไม่เป็นเรื่องจำเป็นขนาดนั้น เพราะสามารถเลือกวิธีเดินทางอื่น เช่น ขนส่งสาธารณะ หรือการใช้เวลามากขึ้นในการเดินทาง

2. ก่อนหน้านี้เราใช้ชีวิตอย่างไร?
ถามตัวเองว่าเมื่อก่อนที่ไม่มีสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เราก็ยังสามารถดำเนินชีวิตไปได้ไหม? เช่น ก่อนที่เราจะมีรถยนต์ ขณะนั้นการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะก็ยังสามารถทำให้เราทำงานได้ตามปกติ ดังนั้น คำถามนี้ช่วยให้เราแยกแยะว่าความลำบากที่เรารู้สึกนั้นเป็นเหตุผลที่แท้จริงหรือเป็นข้ออ้างในการซื้อสินค้าหรือไม่

3. มีทางเลือกอื่นที่ทดแทนได้หรือไม่?
พิจารณาถึงทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจประหยัดกว่าการซื้อสินค้าชิ้นนั้น เช่น ถ้าความต้องการหลักคือการเดินทาง การใช้บริการรถแท็กซี่อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการซื้อรถยนต์ หากคำนึงถึงค่าใช้จ่ายระยะยาว เช่น ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีรถยนต์ ซึ่งการใช้แท็กซี่อาจมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในบางกรณี นอกจากนี้ยังสามารถพิจารณาเรื่องการซื้อสินค้าประเภทมือสอง หรือเลือกสินค้ารุ่นที่ราคาถูกกว่าหรือเหมาะสมกับงบประมาณ

4. จำเป็นต้องซื้อทันทีหรือไม่?
หากหลังจากพิจารณาอย่างละเอียดแล้วพบว่าเราจำเป็นต้องซื้อสินค้า แต่ไม่สามารถหาทางเลือกอื่นได้ เราควรถามตัวเองว่า การซื้อทันทีเป็นสิ่งที่จำเป็นหรือสามารถรอได้? การรออาจช่วยให้เราได้ประโยชน์จากการมีโปรโมชั่น หรือข้อเสนอพิเศษ เช่น ลดราคา หรือการสนับสนุนจากภาครัฐ

5. จำเป็นต้องใช้เงินสดหรือสามารถกู้เงินได้?
สุดท้าย เราควรพิจารณาว่าควรใช้เงินสดในการซื้อสินค้านั้น ๆ หรือไม่ โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาแพง เช่น รถยนต์ หรือบ้าน ซึ่งอาจต้องใช้วิธีการกู้เงินจากธนาคาร แทนการใช้เงินสด เนื่องจากสินค้าราคาสูงมักมีการปรับราคาขึ้นทุกปี ซึ่งหากรอเก็บเงินเป็นจำนวนมากอาจทำให้ไม่สามารถซื้อได้ตามที่ต้องการ ดังนั้น การเลือกใช้วิธีการกู้เงินในกรณีที่สินค้าจำเป็นจึงเป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผล

สำหรับคำถามเหล่านี้ หากคำตอบของคุณคือ “ใช่” ทุกข้อ นั่นอาจบ่งบอกว่า คุณยังไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้านั้นในตอนนี้ หรือแม้กระทั่ง เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ไม่ถึงขั้นต้องกู้เงินมาเพื่อซื้อ คำถามเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสินค้าและบริการแทบทุกประเภท เพื่อช่วย เตือนสติในการใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล และเน้นย้ำให้ใช้เงินไปกับสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ มากกว่าการใช้เพื่อตอบสนองความต้องการชั่วคราว

เพราะเมื่อถึงเวลาที่มีเหตุจำเป็นทางการเงินอย่างแท้จริง แต่ไม่สามารถหาเงินมาใช้ได้ทัน คุณอาจรู้สึกเสียดายภายหลังว่า “รู้อย่างนี้ไม่น่าซื้อเลย” อย่างไรก็ตาม หากคุณพิจารณาแล้วว่าสินค้านั้นมีความจำเป็นจริงและมีราคาสูง เช่น

ในกรณีเหล่านี้ การใช้สินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงิน อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่ก็ควรศึกษารายละเอียดให้รอบด้าน เช่น เงื่อนไขการกู้ ดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อน และผลกระทบต่อรายจ่ายรายเดือน

เพื่อให้การตัดสินใจนั้นมั่นใจและคุ้มค่าที่สุด หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ CCAP เบอร์โทร: 092-256-6801 หรือแอดไลน์มาได้เลย คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap

สแกน QR Code เพื่อเพิ่มเพื่อน CCAP ได้เลย

Reference Link

© สงวนลิขสิทธิ์ 2565 เจริญสิน แคปปิตอล จำกัด
CALL CENTER  02 120 6624
phone-handset