หลังจากที่ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อแล้ว สิ่งสำคัญที่ผู้กู้ต้องปฏิบัติคือ การชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ทุกเดือน โดยทั่วไปผู้กู้จะต้องนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามข้อตกลงกับธนาคารหรือสถาบันการเงิน
อย่างไรก็ตามในบางช่วงเวลาอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน หรือการบริหารเงินที่ขาดประสิทธิภาพ จนทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด หากเกิดการจ่ายล่าช้า ผลกระทบที่จะตามมามีดังนี้
เมื่อมีการจ่ายหนี้ล่าช้า สถาบันการเงินจะคิด “ดอกเบี้ยผิดเงื่อนไข” ซึ่งมักมีอัตราสูงกว่าดอกเบี้ยปกติ โดยขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อ ตัวอย่างเช่น
สำหรับดอกเบี้ยผิดเงื่อนไขจะถูกคิดจาก “เงินต้นของค่างวดที่ผิดนัด” เช่น ค่างวดรายเดือน 12,000 บาท (เงินต้น 10,000 บาท + ดอกเบี้ย 2,000 บาท (ตัวอย่างสมมติ) ในกรณีนี้ ดอกเบี้ยผิดนัดจะคิดจาก เงินต้น 10,000 บาท
ซึ่งเป็นต้นทุนส่วนเพิ่มที่ไม่จำเป็นต้องเสีย หากชำระหนี้ตรงเวลา
ความรู้เพิ่มเติม : วิธีการคำนวณดอกเบี้ยผิดเงื่อนไขอาจแตกต่างกันตามนโยบายของแต่ละสถาบันการเงิน แนะนำให้ศึกษารายละเอียดจากเว็บไซต์ของสถาบันการเงินก่อนทำธุรกรรม
เมื่อมีการค้างชำระเกิน 1,000 บาทขึ้นไป สถาบันการเงินอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้ ดังนี้
ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นต้นทุนส่วนเกินที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หากวางแผนการเงินอย่างเหมาะสม
หนี้เสีย หรือ NPL (Non-Performing Loan) คือหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน แต่หากมีการชำระล่าช้าเป็นประจำ ประวัติเครดิตของผู้กู้จะถูกบันทึกในระบบเครดิตบูโร ส่งผลให้การขอสินเชื่อในอนาคต เช่น สินเชื่อบ้านหรือรถยนต์ มีโอกาสถูกปฏิเสธ หรือได้รับอนุมัติวงเงินต่ำลง เพราะสถาบันการเงินมองว่าเป็นผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูงดังนั้นหากเปรียบเทียบให้เห็นภาพคือ เหมือนการให้เพื่อนยืมเงิน หากเพื่อนคนนั้นเคยผิดนัดบ่อยๆ โอกาสที่เราจะให้ยืมอีกก็ย่อมลดลง เช่นเดียวกับสถาบันการเงินเช่นกัน
เมื่อล่าช้าหรือผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้มักได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ติดตามทวงถาม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ ความกังวล หรือความเครียดสะสม หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้ อย่างไรก็ตาม การติดตามทวงถามหนี้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ซึ่งกำหนดวิธีการและขอบเขตในการติดต่อทวงถามอย่างเป็นธรรม สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พ.ร.บ. นี้ได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
ข้อควรรู้เพิ่มเติม
ก่อนตัดสินใจทำธุรกรรมหรือหากมีปัญหาการชำระหนี้ ควรตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยผิดเงื่อนไข ค่าปรับ และค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์สถาบันการเงิน หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่โดยตรง
การชำระหนี้ให้ตรงตามกำหนดเวลาเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่เพียงช่วยรักษาประวัติทางการเงินให้ดี แต่ยังหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ดอกเบี้ยผิดนัด และค่าธรรมเนียมในการติดตามทวงถามซึ่งในหลายกรณีผู้กู้มีเงินพร้อมชำระอยู่แล้ว เพียงแต่ “ลืมจ่าย” เท่านั้น โดยเฉพาะในสินเชื่อประเภทบัตรเครดิตหรือบัตรเงินด่วน
1. ใช้วิธีการจ่ายเองผ่านแอปหรือเคาน์เตอร์สาขาของสถาบันการเงิน แสดงว่าเงินสดอาจจะตึงมืออยู่บ้าง แต่ยังจ่ายไหวอยู่ แนะนำให้ตั้งค่า “แจ้งเตือน” หรือ “alert” ที่โทรศัพท์มือถือ ควรตั้งแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนถึง วันครบกำหนด 3-5 วัน เพื่อเตือนให้ต้องไปจ่าย จากนั้น หากเริ่มหมุนเงินคล่องขึ้น แนะนำให้ทำหักบัญชีอัตโนมัติเพื่อชำระหนี้ ป้องกันการลืมจ่าย
2. กรณีมีบริการหักบัญชีอัตโนมัติอยู่แล้ว แต่เงินเข้าบัญชีอื่น แนะนำให้ตั้งเวลา โอนเงินอัตโนมัติ จากบัญชีที่มีรายรับเข้าสู่บัญชีที่ผูกไว้กับระบบหักบัญชีอัตโนมัติ ซึ่งสามารถตั้งค่าผ่านแอปสถาบันการเงินได้ง่ายๆ เพื่อให้มั่นใจว่ามีเงินพร้อมสำหรับตัดยอดตามกำหนด
สาเหตุระยะสั้น เหตุการณ์ฉุกเฉินที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าตัวอย่างเช่น คนในครอบครัวป่วยกะทันหัน หรือมีเหตุทุจริตในธุรกิจ แนะนำให้มี “วงเงินสำรอง” ไว้ล่วงหน้า ข้อควรระวังคือ ควรเตรียมวงเงินไว้ล่วงหน้า เพราะหากรอสมัครในช่วงเกิดเหตุฉุกเฉินจริง อาจต้องใช้เวลาอนุมัติ 1-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อ
สาเหตุระยะยาว รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อาจเกิดจากธุรกิจชะลอตัว หรือรายได้จากงานประจำลดลง เช่น ถูกปรับลดโอที ซึ่งแนวทางแก้ไขคือ
การเข้าพบสถาบันการเงินอย่างรวดเร็วเมื่อมีปัญหา จะช่วยให้ได้ทางออกที่เป็นธรรมสำหรับทั้งสองฝ่ายได้ดังนั้น การป้องกันการผิดนัดชำระหนี้เริ่มต้นที่ “การวางแผน” และ “การใช้เครื่องมือทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ” ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเตือน การหักบัญชีอัตโนมัติ หรือการเตรียมวงเงินสำรอง รวมถึงการไม่ละเลย เมื่อเริ่มมีปัญหาสภาพคล่อง เพราะการเข้าหารือกับสถาบันการเงินตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมดีกว่ารอให้ปัญหาบานปลาย
1. เตรียมเงินสำรองฉุกเฉินให้เพียงพอ เช่นควรมีเงินสำรองเผื่อเหตุฉุกเฉินอย่างน้อย 6–12 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างทันท่วงที
2. ปรับลดค่าใช้จ่ายอย่างมีสติ การลดค่าใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ทั้งในระดับธุรกิจและระดับบุคคล
3. สร้างช่องทางเพิ่มรายได้ การเพิ่มรายได้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงิน
4. หลีกเลี่ยงการกู้เงินนอกระบบ แม้จะดูเป็นทางออกในระยะสั้น แต่การกู้เงินนอกระบบมีความเสี่ยงสูง ทั้งอัตราดอกเบี้ยที่แพงเกินจริง และวิธีการทวงหนี้ที่อาจละเมิดสิทธิ เช่น การข่มขู่ ประจาน หรือใช้ความรุนแรง ซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางกฎหมายและความปลอดภัยในชีวิต
การชำระหนี้ล่าช้ามักเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ ลืมชำระแม้มีเงินพร้อมอยู่แล้ว หรือขาดสภาพคล่อง “หมุนเงินไม่ทัน” ซึ่งทั้งสองกรณีอาจนำไปสู่ผลเสียหลายประการ เช่น ดอกเบี้ยผิดนัด ค่าธรรมเนียมทวงถาม ประวัติเครดิตเสีย และส่งผลกระทบต่อจิตใจ
ดังนั้นการ วางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ มีวินัยในการใช้จ่าย ควบคู่กับการเตรียมเงินสำรอง และหาช่องทางเพิ่มรายได้ จะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับปัญหาทางการเงินได้อย่างยั่งยืน หากเกิดปัญหาเหล่านี้
สามารถแก้ไขได้โดยการติดต่อมาขอคำปรึกษากับบริษัทได้เลย CCAP คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap , เบอร์โทร: 092-256-6801