จากรายงานเรื่อง “หนี้ครัวเรือนของไทย วิกฤตแค่ไหน ทำไมถึงไม่ควรมองข้าม” พบว่า คนไทยจำนวนมากกำลังเผชิญกับปัญหาหนี้สินเป็นจำนวนมากสามารถอธิบายดังนี้
ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการก่อหนี้เพื่อการบริโภค มากกว่าการลงทุนในทรัพย์สินหรือกิจการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของครัวเรือนไทยในระยะยาว
1. ถ้าไม่ซื้อ มีผลกระทบกับชีวิตเราอย่างไร?
การตั้งคำถามว่าหากเราไม่ซื้อสินค้านี้ จะส่งผลกระทบกับชีวิตหรือการทำงานของเรามากแค่ไหน เช่น หากซื้อรถยนต์เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ (เช่น เซลส์แมน หรือพ่อค้าแม่ค้า) ซึ่งการขาดรถอาจทำให้การเดินทางยากขึ้น อาจบอกได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็น แต่ถ้าซื้อรถเพียงเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปทำงานหรือท่องเที่ยวในวันหยุด อาจจะไม่เป็นเรื่องจำเป็นขนาดนั้น เพราะสามารถเลือกวิธีเดินทางอื่น เช่น ขนส่งสาธารณะ หรือการใช้เวลามากขึ้นในการเดินทาง
2. ก่อนหน้านี้เราใช้ชีวิตอย่างไร?
ถามตัวเองว่าเมื่อก่อนที่ไม่มีสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เราก็ยังสามารถดำเนินชีวิตไปได้ไหม? เช่น ก่อนที่เราจะมีรถยนต์ ขณะนั้นการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะก็ยังสามารถทำให้เราทำงานได้ตามปกติ ดังนั้น คำถามนี้ช่วยให้เราแยกแยะว่าความลำบากที่เรารู้สึกนั้นเป็นเหตุผลที่แท้จริงหรือเป็นข้ออ้างในการซื้อสินค้าหรือไม่
3. มีทางเลือกอื่นที่ทดแทนได้หรือไม่?
พิจารณาถึงทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจประหยัดกว่าการซื้อสินค้าชิ้นนั้น เช่น ถ้าความต้องการหลักคือการเดินทาง การใช้บริการรถแท็กซี่อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการซื้อรถยนต์ หากคำนึงถึงค่าใช้จ่ายระยะยาว เช่น ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีรถยนต์ ซึ่งการใช้แท็กซี่อาจมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในบางกรณี นอกจากนี้ยังสามารถพิจารณาเรื่องการซื้อสินค้าประเภทมือสอง หรือเลือกสินค้ารุ่นที่ราคาถูกกว่าหรือเหมาะสมกับงบประมาณ
4. จำเป็นต้องซื้อทันทีหรือไม่?
หากหลังจากพิจารณาอย่างละเอียดแล้วพบว่าเราจำเป็นต้องซื้อสินค้า แต่ไม่สามารถหาทางเลือกอื่นได้ เราควรถามตัวเองว่า การซื้อทันทีเป็นสิ่งที่จำเป็นหรือสามารถรอได้? การรออาจช่วยให้เราได้ประโยชน์จากการมีโปรโมชั่น หรือข้อเสนอพิเศษ เช่น ลดราคา หรือการสนับสนุนจากภาครัฐ
5. จำเป็นต้องใช้เงินสดหรือสามารถกู้เงินได้?
สุดท้าย เราควรพิจารณาว่าควรใช้เงินสดในการซื้อสินค้านั้น ๆ หรือไม่ โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาแพง เช่น รถยนต์ หรือบ้าน ซึ่งอาจต้องใช้วิธีการกู้เงินจากธนาคาร แทนการใช้เงินสด เนื่องจากสินค้าราคาสูงมักมีการปรับราคาขึ้นทุกปี ซึ่งหากรอเก็บเงินเป็นจำนวนมากอาจทำให้ไม่สามารถซื้อได้ตามที่ต้องการ ดังนั้น การเลือกใช้วิธีการกู้เงินในกรณีที่สินค้าจำเป็นจึงเป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผล
สำหรับคำถามเหล่านี้ หากคำตอบของคุณคือ “ใช่” ทุกข้อ นั่นอาจบ่งบอกว่า คุณยังไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้านั้นในตอนนี้ หรือแม้กระทั่ง เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ไม่ถึงขั้นต้องกู้เงินมาเพื่อซื้อ คำถามเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสินค้าและบริการแทบทุกประเภท เพื่อช่วย เตือนสติในการใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล และเน้นย้ำให้ใช้เงินไปกับสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ มากกว่าการใช้เพื่อตอบสนองความต้องการชั่วคราว
เพราะเมื่อถึงเวลาที่มีเหตุจำเป็นทางการเงินอย่างแท้จริง แต่ไม่สามารถหาเงินมาใช้ได้ทัน คุณอาจรู้สึกเสียดายภายหลังว่า “รู้อย่างนี้ไม่น่าซื้อเลย” อย่างไรก็ตาม หากคุณพิจารณาแล้วว่าสินค้านั้นมีความจำเป็นจริงและมีราคาสูง เช่น
ในกรณีเหล่านี้ การใช้สินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงิน อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่ก็ควรศึกษารายละเอียดให้รอบด้าน เช่น เงื่อนไขการกู้ ดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อน และผลกระทบต่อรายจ่ายรายเดือน
เพื่อให้การตัดสินใจนั้นมั่นใจและคุ้มค่าที่สุด หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ CCAP เบอร์โทร: 092-256-6801 หรือแอดไลน์มาได้เลย คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap
จากผลการสำรวจเรื่อง “หนี้นอกระบบในประเทศไทยเป็นอย่างไร” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่ก่อหนี้นอกระบบมีเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้
แม้ว่าสถาบันการเงินและธนาคารจะมีบริการสินเชื่อหลากหลายประเภท แต่คนจำนวนไม่น้อยกลับไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบได้ ด้วยปัจจัยสำคัญหลายประการ ได้แก่
จากข้อจำกัดเหล่านี้ คนกลุ่มดังกล่าวจึงหันไปพึ่งแหล่งเงินกู้นอกระบบที่เข้าถึงได้ง่าย แม้ต้องแลกกับดอกเบี้ยที่สูงลิ่ว และเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม
ประเภทของเจ้าหนี้นอกระบบ ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
ซึ่งการเข้าใจที่มาของปัญหานี้จึงเป็นก้าวแรกสำคัญในการหาแนวทางแก้ไขอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านการขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ และการให้ความรู้ทางการเงินกับประชาชน
วิธีการปล่อยกู้และพฤติกรรมของเจ้าหนี้นอกระบบที่ควรระวัง เจ้าหนี้นอกระบบมักใช้วิธีการหลอกล่อและเอาเปรียบผู้กู้ในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่
เจ้าหนี้นอกระบบมักใช้เทคนิคโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อหลอกล่อให้ผู้ที่กำลังเดือดร้อนเรื่องเงินหลงเชื่อว่านี่คือ “ทางรอดสุดท้าย” ตัวอย่างโฆษณาที่พบได้บ่อย เช่น
ข้อความเหล่านี้ดูเหมือนเป็นโอกาสดี แต่เบื้องหลังกลับเต็มไปด้วยกับดักที่ทำให้ผู้กู้ตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว และเมื่อเหยื่อตกลงกู้เงิน เจ้าหนี้นอกระบบจะใช้วิธีเอารัดเอาเปรียบในทุกรูปแบบ เช่น การทำสัญญากู้ไม่ตรงกับเงินที่ได้รับจริง และการคิดดอกเบี้ยโหดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ตัวอย่างเช่น
จากตัวอย่างโฆษณา “กู้ 10,000 บาท ผ่อนคืนวันละ 200 บาท นาน 6 เดือน*” ฟังดูเหมือนจะไม่แพง แต่หากลองคำนวณจริง ๆ จะพบว่า ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายนั้นสูงจนเกินรับไหว การโฆษณาแบบนี้ตั้งใจหลอกให้คนกู้เข้าใจผิด ว่าเป็นยอดผ่อนรายวันที่เบา สบาย และหมดหนี้เร็ว ทั้งที่แท้จริงแล้วต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงมหาศาล
ในกรณีที่กู้เงินจำนวนสูง เจ้าหนี้นอกระบบมักบังคับให้นำทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน บ้าน รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์มาค้ำประกัน แต่แทนที่จะรักษาทรัพย์สินไว้ให้ตามข้อตกลง เจ้าหนี้นอกระบบบางรายกลับนำทรัพย์เหล่านี้ไปขาย หรือจำนำต่ออย่างผิดกฎหมาย พอถึงเวลากลับมาไถ่คืน ทรัพย์สินอาจหายไปอย่างไร้ร่องรอย ทิ้งให้ผู้กู้ต้องสูญเสียสมบัติอันมีค่าไปตลอดกาล
ข้อควรระวัง: กับดักเจ้าหนี้นอกระบบออนไลน์ และกลลวงจากมิจฉาชีพ ในโลกออนไลน์ เจ้าหนี้นอกระบบมีทั้งกลุ่มที่ปล่อยกู้เงินจริง และกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาในคราบนายทุนเงินกู้ วิธีการหลอกลวงที่พบบ่อย เช่น เมื่อต้องการกู้เงิน 100,000 บาท มิจฉาชีพจะอ้างว่าต้องโอนเงินเพื่อเป็น “ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น” เช่น ค่าธรรมเนียม หรือ “เงินปากถุง” ก่อนถึงจะดำเนินการกู้ได้ และเมื่อเหยื่อหลงเชื่อโอนเงินไปแล้ว กลลวงยังไม่จบง่ายๆ มิจฉาชีพจะอ้างเหตุผลเพิ่มเติมเพื่อขอเงินซ้ำอีก เช่น
สุดท้าย เหยื่อจะเสียเงินไปหลายครั้งโดยไม่ได้รับเงินกู้แม้แต่บาทเดียว
เมื่อพูดถึงการกู้นอกระบบ สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ คือ “ความเสี่ยงที่อาจตามมา” ผู้กู้จำนวนมากแม้จะเริ่มผ่อนชำระหนี้ได้ในช่วงแรก แต่ไม่นานมักเริ่มผ่อนไม่ไหว เพราะแม้จะจ่ายไปเท่าไร ยอดเงินต้นก็ไม่ลดลง เนื่องจากถูกคิดดอกเบี้ยที่สูงเกินจริง หรือบางครั้งเกิดภาวะขาดสภาพคล่อง จนไม่สามารถชำระหนี้ต่อได้
เมื่อผู้กู้ผิดนัดชำระ เจ้าหนี้นอกระบบมักใช้วิธีการทวงหนี้ที่รุนแรง และ ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีพฤติกรรมที่พบได้บ่อยดังนี้:
ดังนั้น การกู้นอกระบบอาจดูเหมือนทางเลือกที่ง่ายในยามจำเป็น แต่เบื้องหลังเต็มไปด้วยความเสี่ยงที่ร้ายแรงต่อชีวิต ทรัพย์สิน และศักดิ์ศรีของผู้กู้ ดังนั้น ก่อนตัดสินใจกู้เงินจากที่ใด ควรศึกษาและเลือกใช้บริการจากสถาบันการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น เพื่อปกป้องตัวเองและครอบครัวจากอันตรายที่คาดไม่ถึง
เมื่อไม่สามารถชำระหนี้นอกระบบได้ อย่าตกใจหรือเลือกที่จะหลบหนี เพราะการหลีกเลี่ยงไม่ใช่ทางออกที่ดี ทางเลือกแรกที่ควรทำ คือ การเจรจากับเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการเจรจากับเจ้าหนี้ในระบบ เช่น สถาบันการเงินหรือธนาคาร ผู้กู้สามารถขอเจรจาเพื่อ:
หากเจ้าหนี้เป็นบุคคลที่ผู้กู้รู้จัก เช่น เพื่อน คนในชุมชนเดียวกัน หรือญาติพี่น้อง มีแนวโน้มที่จะเจรจาได้ง่ายขึ้น เพราะยังพอมีความไว้เนื้อเชื่อใจอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม หากเป็นเจ้าหนี้นอกระบบประเภทที่ไม่รู้จักกันมาก่อน เช่น:
เจ้าหนี้กลุ่มนี้มักจะไม่ยินยอมให้มีการเจรจา และนิยมใช้วิธีการ ข่มขู่ คุกคาม หรือใช้ความรุนแรง เพื่อสร้างความกลัวให้กับลูกหนี้
จากที่กล่าวมาแล้ว คนที่กำลังเดือดร้อนเรื่องเงิน มักมองว่า เจ้าหนี้นอกระบบ คือทางเลือกที่ง่ายและเร็วที่สุด เหมือนเป็น “ทางรอด” สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินได้ แต่ในความเป็นจริง เมื่อกู้มาแล้วและเริ่มผ่อนไม่ไหว “ทางรอด” นั้นจะกลับกลายเป็น “ทางตัน” ทันที ผู้กู้จะเผชิญกับการทวงหนี้ที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็น:
เหตุการณ์สะเทือนขวัญเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และสามารถพบเห็นได้จากรายงานข่าวในสื่อต่างๆ ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเดือดร้อนเรื่องเงินแค่ไหน สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงเป็นอันดับแรก คือ “เงินกู้นอกระบบ” เพราะมันจะนำคุณเข้าสู่วงจรอุบาทว์ที่ยากจะหลุดพ้น หากจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ ควรมองหาแหล่งเงินกู้ในระบบ เช่น:
ซึ่งแม้จะมีขั้นตอนที่เข้มงวดกว่า แต่ก็มีมาตรการคุ้มครองตามกฎหมาย และไม่ต้องเสี่ยงกับอันตรายที่ไม่คาดคิด
ดังนั้น หนี้นอกระบบ คือการกู้เงินจากแหล่งที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ซึ่งมักคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินจริง ผู้กู้มักไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้เสี่ยงต่อการถูกเอาเปรียบหรือถูกข่มขู่จากเจ้าหนี้
ปัญหานี้มักเกิดในกลุ่มรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันการเงินได้ เพื่อความปลอดภัยควรเลือกแหล่งกู้เงินจากแหล่งที่ได้รับการรับรอง นอกจากนี้ ควรมีความรู้ด้านการเงินเบื้องต้นและวางแผนการใช้จ่าย
อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจกู้เงิน หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ CCAP เบอร์โทร: 092-256-6801 หรือแอดไลน์มาได้เลย คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap
การขอกู้เงินร่วมกันถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินจำนวนมาก ไม่ว่าจะเพื่อนำไปลงทุนในธุรกิจ หรือซื้อทรัพย์สินที่มีราคาสูง เช่น บ้านพักอาศัย แต่ไม่สามารถขอกู้ด้วยตนเองได้ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอ หรือแม้จะมีรายได้มากพอ แต่ภาระหนี้สินที่มีอยู่อาจเกินเกณฑ์ที่ธนาคารอนุมัติ
ผู้กู้ร่วมจะต้องมีความสัมพันธ์ในลักษณะครอบครัวหรือเครือญาติกัน เช่น พ่อ-แม่ ลูก พี่น้องสายเลือดเดียวกัน หรือสามี-ภรรยา หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส อาจต้องแสดงเอกสารเพิ่มเติมเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ เช่น สูติบัตรของบุตร หรือการ์ดเชิญงานแต่งงาน เป็นต้น
กล่าวได้เลยว่าข้อดีของการกู้ร่วมช่วยเพิ่มโอกาสในการขอสินเชื่อให้ได้รับการอนุมัติ โดยมีข้อดีหลักๆ ดังต่อไปนี้
การกู้ร่วมสามารถเพิ่มศักยภาพในการผ่อนชำระ และทำให้สามารถกู้เงินได้ในวงเงินที่สูงขึ้น
กรณีตัวอย่าง: นายเอมีรายได้ต่อเดือน 30,000 บาท ธนาคารกำหนดให้ภาระผ่อนไม่เกิน 50% ของรายได้ หรือเท่ากับ 15,000 บาท/เดือน หากต้องการกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน ธนาคารจะพิจารณาว่าเงินผ่อน 15,000 บาทนี้ สามารถกู้ได้ประมาณ 2,140,000 บาท (คำนวณจากสูตร 15,000 ÷ 7,000 x 1,000,000)
แต่หากนายเออยากซื้อบ้านราคา 3,000,000 บาท ซึ่งต้องผ่อนประมาณ 21,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 30 ปี ซึ่งนายเอจะไม่สามารถกู้ได้เพียงลำพังในราคาดังกล่าว ดังนั้น หากมีผู้มากู้ร่วม โดยช่วยแบ่งภาระผ่อนเดือนละ 9,000 บาท ผู้ร่วมกู้ควรมีรายได้อย่างน้อย 18,000 บาท และไม่มีภาระหนี้สินอื่น ๆ เพื่อให้การกู้เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคาร
การกู้ร่วมกับบุคคลที่อายุน้อยกว่าสามารถช่วยยืดระยะเวลาการผ่อนได้นานขึ้น ส่งผลให้ยอดผ่อนต่อเดือนลดลงอย่างเห็นได้ชัด
กรณีตัวอย่าง: ผู้กู้หลักอายุ 50 ปี สามารถกู้ได้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี หากต้องการกู้ซื้อบ้านราคา 3,000,000 บาท จะต้องผ่อนเดือนละประมาณ 36,000 บาท (จากเงินกู้ 1 ล้านบาท ผ่อนเดือนละ 12,000 บาท เป็นเวลา 10 ปี)
แต่ถ้ากู้ร่วมกับบุตรที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี จะสามารถขยายระยะเวลากู้ได้นานถึง 30 ปี ส่งผลให้ยอดผ่อนลดลงเหลือเพียง 21,000 บาทต่อเดือน
เมื่อทราบถึงข้อดีของการกู้ร่วมแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ ข้อควรรู้และข้อควรระวัง ก่อนการตัดสินใจกู้ร่วม เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถเตรียมตัวและตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและรอบคอบ โดยมีประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาดังนี้:
ก่อนจะยื่นกู้ร่วมควรพูดคุยและตกลงกันให้เรียบร้อยทั้งในเรื่อง ความรับผิดชอบในการผ่อนชำระ และสิทธิในกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน ซึ่งเป็นคนละความหมาย
ตามกฎหมาย หากมีชื่ออยู่ในโฉนดร่วมกัน ทุกคนจะมีสิทธิ์ในบ้านเท่ากัน ไม่ว่าจะแบ่งเงินผ่อนกันเท่าใดก็ตาม ดังนั้น ควรตกลงกันให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องแยกทางกันที่จะตามมาในภายหลัง
ดอกเบี้ยที่จ่ายให้ธนาคารจากการกู้ซื้อบ้าน สามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี โดยต้องเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้
ตัวอย่าง: กู้ร่วมกัน 2 คน เสียดอกเบี้ยตลอดปี 120,000 บาท สามารถนำไปหักลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 50,000 บาท (รวมกันไม่เกิน 100,000 บาทตามเกณฑ์) ที่กฏหมายกำหนด ทั้งนี้ ไม่สามารถโอนสิทธิให้ผู้กู้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวได้ แม้ว่าจะมีรายได้และอัตราภาษีที่แตกต่างกันก็ตาม
ผู้กู้ร่วมหลายคนมักเข้าใจผิดว่า ตนเองจะต้องรับผิดชอบหนี้เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น เช่น กู้ร่วม 2 คน เป็นเงิน 3,000,000 บาท คิดว่ารับผิดชอบคนละ 1,500,000 บาท ความจริงคือ ผู้กู้ร่วมทุกคนต้องรับผิดชอบต่อหนี้เต็มจำนวน เท่ากันทั้งหมด หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดนัดชำระหนี้ อีกฝ่ายต้องรับผิดชอบต่อยอดหนี้ทั้งหมดทันที ซึ่งหากไม่สามารถชำระได้ อาจถูกฟ้องร้อง และมีผลกระทบต่อเครดิตบูโรหรือประวัติทางการเงินในระยะยาว
ในบางกรณี ผู้กู้ร่วมอาจต้องการถอนตัวออกจากภาระหนี้ เช่น ต้องการแยกสินทรัพย์ หรืออยากกู้บ้านใหม่เป็นของตนเอง แต่ติดขัดที่ยังมีภาระกู้ร่วมกับธนาคาร การจะยกเลิกการเป็นผู้กู้ร่วม ต้องได้รับการอนุมัติจากธนาคาร โดยธนาคารจะพิจารณาว่า ผู้กู้ที่เหลือมีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ต่อได้หรือไม่ หากผ่านเกณฑ์ ธนาคารจึงจะอนุมัติให้ยกเลิกการเป็นผู้กู้ร่วมได้ แต่หากความสามารถไม่เพียงพอ ธนาคารจะไม่อนุญาต การยื่นขอยกเลิกนั้น เปรียบเสมือนการขอกู้ใหม่ ผู้กู้หลักต้องยื่นเอกสารรายได้และเอกสารประกอบอื่นๆ ใหม่ทั้งหมด
ธนาคารจะพิจารณาผู้กู้ร่วมเช่นเดียวกับผู้กู้หลัก ทั้งในด้าน:
ผู้กู้หลายรายมักละเลยจุดนี้ คิดเพียงว่าผู้ร่วมกู้มีรายได้ก็พอ แต่หากมีเครดิตบูโรไม่ดี หรือมีภาระหนี้อื่นๆ มากเกินไปก็อาจส่งผลต่อการอนุมัติสินเชื่อทั้งหมด
ดังนั้น การกู้ร่วมถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณได้ครอบครองบ้านหรือทรัพย์สินในฝัน โดยเฉพาะในกรณีที่รายได้คนเดียวไม่เพียงพอ หรืออยากแบ่งเบาภาระการผ่อนในระยะยาว หากวางแผนให้ดี
เลือกผู้ร่วมกู้ที่มีความมั่นคง และเข้าใจเป้าหมายร่วมกัน การกู้ร่วมอาจเป็นกุญแจสำคัญสู่ความมั่นคงในชีวิต แต่ก็มีรายละเอียดและข้อควรระวังหลายประการที่ต้องพิจารณาให้รอบด้าน ก่อนตัดสินใจควรพูดคุยตกลงกันให้ชัดเจนเข้าใจในสิทธิหน้าที่ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้การกู้ร่วมเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัยในระยะยาว หากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดได้ที่
ฝ่ายสินเชื่อ CCAP เบอร์โทร: 092-256-6801 หรือแอดไลน์มาได้เลย คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap
หากกำลังมองหาสินเชื่อ เช่น สินเชื่อเพื่อซื้อรถยนต์ของธนาคารและสถาบันการเงินมักมีตัวเลือกดอกเบี้ยให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก (Effective Rate) และ ดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ซึ่งทั้ง 2 แบบมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกัน และแบบไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน? มาดูกันได้เลย!
เบื้องต้นมาดูกันก่อนว่าดอกเบี้ยลดต้นลดดอกและดอกเบี้ยคงที่ แตกต่างกันอย่างไร?
ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจความแตกต่างได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขอเปรียบเทียบการคำนวณดอกเบี้ยระหว่าง ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก และดอกเบี้ยคงที่ โดยสมมติว่า คุณต้องการขอสินเชื่อรถ เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท มีระยะเวลาผ่อน 6 ปี (72 งวด) จ่ายแบบรายเดือน ซึ่งธนาคารมีทางเลือกดอกเบี้ย 2 แบบ คือ
รายละเอียดการคำนวณแบบอัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกสามารถดูได้จากตารางด้านล่าง ดังต่อไปนี้
งวด | ดอกเบี้ย | ยอดผ่อน | ยอดคงเหลือ | ดอกเบี้ย |
ลดต้นลดดอก | 100,000 | 10.90% | ||
1 | 896 | 1,898 | 98,998 | 10.90% |
2 | 887 | 1,898 | 97,987 | 10.90% |
3 | 878 | 1,898 | 96,967 | 10.90% |
4 | 869 | 1,898 | 95,937 | 10.90% |
69 | 60 | 1,898 | 4,875 | 10.90% |
70 | 44 | 1,898 | 3,021 | 10.90% |
71 | 27 | 1,898 | 1,150 | 10.90% |
72 | 10 | 1,160 | 0 | 10.90% |
ดอกเบี้ยรวม | 35,918 |
รายละเอียดการคำนวณแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่สามารถดูได้จากตารางด้านล่าง ดังต่อไปนี้
งวด | ดอกเบี้ย | ยอดผ่อน | ยอดคงเหลือ | ดอกเบี้ย |
ดอกเบี้ยคงที่ | 100,000 | 6.00% | ||
1 | 500 | 1,889 | 98,611 | 6.00% |
2 | 500 | 1,889 | 97,222 | 6.00% |
3 | 500 | 1,889 | 95,833 | 6.00% |
4 | 500 | 1,889 | 94,444 | 6.00% |
69 | 500 | 1,889 | 4,167 | 6.00% |
70 | 500 | 1,889 | 2,778 | 6.00% |
71 | 500 | 1,889 | 1,389 | 6.00% |
72 | 500 | 1,889 | 0 | 6.00% |
ดอกเบี้ยรวม | 36,000 |
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ดอกเบี้ยลดต้นลดดอกจะมีดอกเบี้ยสูงสุดในงวดแรกและค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนถึงงวดสุดท้าย ในขณะที่ดอกเบี้ยคงที่จะมีดอกเบี้ยเท่ากันทุกงวดตั้งแต่ต้นจนจบ
อย่างไรก็ตามเมื่อนำดอกเบี้ยทั้งสองแบบมาเปรียบเทียบกันนั้นจะพบว่ามีส่วนต่างของดอกเบี้ยตลอดสัญญามีเพียง 82 บาท ซึ่งแทบไม่แตกต่างกันเลย
หากกรณีไม่มีเครื่องมือช่วยคำนวณแต่ต้องการทราบแบบคร่าวๆ ว่าดอกเบี้ยแบบใดถูกกว่า สามารถใช้วิธีแปลงดอกเบี้ยคงที่เป็นดอกเบี้ยลดต้นลดดอก โดยคูณอัตราดอกเบี้ยคงที่ด้วย 1.8
ดังตัวอย่างเช่น :
เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยลดต้นลดดอกที่ 9.5% จะเห็นว่าดอกเบี้ยลดต้นลดดอกราคาถูกกว่าดอกเบี้ยคงที่ 1.3% ดังนั้น ก่อนเลือกประเภทดอกเบี้ย ควรคำนวณเปรียบเทียบทุกครั้ง เพื่อให้ได้เงื่อนไขที่คุ้มค่าที่สุด!
การเลือกดอกเบี้ยให้เหมาะสมมีผลโดยตรงต่อภาระการผ่อนชำระในระยะยาว ทั้งจำนวนเงินที่ต้องจ่ายแต่ละเดือน และยอดรวมดอกเบี้ยตลอดสัญญา การเลือกที่ถูกต้องอาจช่วยให้คุณประหยัดเงินได้หลายหมื่นหรือหลายแสนบาท โดยทั่วไปการเลือกประเภทดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่พฤติกรรมการผ่อนชำระ และการคำนวณภาระดอกเบี้ยรวมตลอดสัญญา
พฤติกรรมการผ่อนชำระ ก่อนตัดสินใจต้องลองสำรวจตัวเองว่า มีแนวโน้มจะจ่ายมากกว่าขั้นต่ำที่กำหนดหรือไม่?
ซึ่งก็คือการ “โปะ” หรือจ่ายเงินก้อนเพิ่มเติมเพื่อลดต้นเงิน
กรณีที่ต้องการโปะ แนะนำให้เลือกการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบ “ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก”
ตัวอย่างการคำนวณ:
ตัวอย่างกรณีที่มีการโปะ หากผู้ขอสินเชื่อโปะครั้งละ 3,000 บาท ในเดือนที่ 13, 25, 37, 49, 61 รวมเป็นเงินที่โปะทั้งสิ้น 16,737 บาท ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ:
ดังนั้น หากคุณมีแนวโน้มจะโปะเงินเพิ่มเป็นระยะ ๆ “ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก” จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในระยะยาว
แต่หากคุณต้องการผ่อนแบบสบายๆ จ่ายเท่ากันทุกเดือนโดยไม่ต้องมีเงินก้อนมาโปะเป็นระยะๆ อาจต้องใช้วิธี “คำนวณดอกเบี้ยจ่ายรวม” เพื่อตัดสินใจว่าแบบใดคุ้มค่ากว่า
รณีที่ไม่ต้องการโปะ ควรจะต้องคำนวณภาระดอกเบี้ยรวมตลอดอายุสัญญา แปลว่าหากคุณมั่นใจว่า จะไม่มีการโปะเงินเพิ่ม ควรเปรียบเทียบดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายตลอดอายุสัญญาของทั้งสองแบบ แล้วเลือกแบบที่ทำให้คุณจ่ายดอกเบี้ยรวมน้อยที่สุด วิธีการเปรียบเทียบง่ายๆ คือ
ตัวอย่างกรณีที่ดอกเบี้ยคงที่อาจถูกกว่า:
🔹 สรุปการเลือกดอกเบี้ยที่เหมาะกับคุณ มีรายละเอียดอธิบายง่ายๆดังนี้
✅ เลือก “ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก” หากคุณมีแผนจะโปะเป็นระยะๆ เพราะจะช่วยลดดอกเบี้ยในระยะยาวและทำให้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้น
✅ เลือก “ดอกเบี้ยคงที่” หากต้องการความแน่นอน ผ่อนเท่ากันทุกเดือน และไม่มีแผนจะโปะเงินเพิ่ม
💡 หากเลือกดอกเบี้ยคงที่ไปแล้ว แต่ในอนาคตต้องการโปะ
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือต้องการคำปรึกษาฟรี ติดต่อมาได้ที่ CCAP เบอร์โทร: 092-256-6801 หรือแอดไลน์มาได้เลย คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap
ธนาคารมีทางเลือกในการขอสินเชื่อทั้งแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และแบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งผู้ขอสินเชื่อมักเลือกประเภทที่เหมาะสมกับตนเอง โดยสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันเป็นที่นิยมด้วยเหตุผลต่างๆ ดังนี้
ทั้งนี้ การเลือกประเภทสินเชื่อควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสถานะทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้เป็นสำคัญ
ข้อดีของการกู้เงินแบบใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
หากคุณกำลังพิจารณาขอสินเชื่อโดยใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น บ้านหรือรถ แต่ยังลังเลว่าจะใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันดีหรือไม่ ลองมาดูข้อดีของการกู้เงินประเภทนี้ เพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น
วงเงินกู้สูง ขึ้นอยู่กับราคาประเมินหลักทรัพย์และความสามารถในการผ่อนชำระหนี้เป็นหลัก สำหรับสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อรถ ไม่มีการกำหนดวงเงินกู้สูงสุด ในกรณีของสินเชื่อบ้าน วงเงินกู้สูงสุดกำหนดไว้ไม่เกิน 20 ล้านบาท
ระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน พร้อมยอดผ่อนต่อเดือนที่ต่ำ สำหรับสินเชื่อบ้านช่วยได้ สามารถผ่อนได้สูงสุดถึง 10 ปี ขณะที่สินเชื่อรถช่วยได้มีระยะเวลาผ่อนสูงสุด 5 ปี ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายรายเดือนได้
ข้อควรรู้เกี่ยวกับสินเชื่อบ้าน สามารถใช้หลักทรัพย์ของบุคคลในครอบครัวเป็นหลักประกันได้ เช่น พ่อ แม่ บุตร หรือคู่สมรส (ทั้งที่จดทะเบียนสมรสและไม่จดทะเบียน) โดยพิจารณาจากเอกสารทางราชการ เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส ใบสูติบัตร (ใบเกิด) หรือหากเป็นคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียน อาจใช้หลักฐานอื่น เช่น การ์ดเชิญงานแต่งงานหรือรูปถ่ายงานแต่งงาน
สำหรับผู้ที่มีหลักทรัพย์ปลอดภาระ ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือของบุคคลในครอบครัว แนะนำให้นำมาใช้ค้ำประกันการขอสินเชื่อ เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ ได้แก่
✅ อัตราดอกเบี้ยถูกกว่าสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
✅ ได้วงเงินกู้สูงขึ้น
✅ ผ่อนได้นานสูงสุดถึง 10 ปี ทำให้ยอดผ่อนต่อเดือนต่ำ ลดภาระค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้ หากผ่อนไปสักระยะและมีเงินเหลือ สามารถเลือกผ่อนเพิ่มหรือโปะเงินต้นได้ตลอดเวลา เพื่อลดดอกเบี้ยและปลดหนี้ได้เร็วขึ้น
ดังนั้น การขอสินเชื่อไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน อนุมัติง่าย ได้เงินเร็ว แต่ดอกเบี้ยสูง และวงเงินกู้ได้น้อยกว่า หากเปรียบเทียบกับการขอสินเชื่อมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ได้วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนได้นาน แต่ใช้เวลาพิจารณานานกว่า ซึ่งมีขอดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้ขอสินเชื่อเหมาะสมกับสินเชื่อแบบไหน
หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ CCAP เบอร์โทร: 092-256-6801 หรือแอดไลน์มาได้เลย คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap
การบริหารหนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการวางแผนทางการเงิน
การขอสินเชื่อหรือกู้ยืมเงินอาจช่วยบรรเทาภาระทางการเงินในช่วงเวลาที่ยากลำบาก อย่างไรก็ตาม ควรมีการบริหารจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางการเงิน
ต่อไปนี้เราจะมานำเสนอ 5 ขั้นตอนสำคัญในการจัดการหนี้ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง มีขั้นตอนอะไรบ้าง
ดังนั้น การบริหารหนี้ที่ดีช่วยลดความเสี่ยงทางการเงิน เริ่มจากการประเมินรายรับ-รายจ่าย วางแผนการชำระหนี้อย่างเป็นระบบ และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หากมีภาระหนี้สูงควรเจรจากับเจ้าหนี้หรือรีไฟแนนซ์เพื่อให้ภาระการชำระหนี้เบาลงและจัดการได้ง่ายขึ้น หากคุณต้องการขอสินเชื่อที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน “CCAP” พร้อมให้คำปรึกษาและช่วยคุณวางแผนการจัดการหนี้อย่างมั่นคง
สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ CCAP เบอร์โทร: 092-256-6801 หรือแอดไลน์มาได้เลย
คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap
คนไทยกำลังเผชิญปัญหาหนี้สินอะไรบ้าง และเหตุใดเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ควรกังวล? วันนี้ CCAP จะพาคุณไปค้นหาคำตอบ พร้อมแนะนำแนวทาง “Unlock ชีวิตหนี้” ที่จะช่วยให้คุณจัดการหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสุขภาพการเงินที่ดีขึ้น
คนไทยเป็นหนี้อะไรมากที่สุด?
หากให้ลองเดากันเล่นๆว่าคนไทยส่วนใหญ่เป็นหนี้ประเภทใดมากที่สุด หลายคนอาจนึกถึง “หนี้บ้าน” หรือ “หนี้รถยนต์” แต่ในทางความเป็นจริง “หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล” คือหนี้ที่มีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็น 39% ของหนี้ครัวเรือนไทย ตามมาด้วย “หนี้บัตรเครดิต” คิดเป็น 29% (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย, 2565) ซึ่งหนี้ทั้งสองประเภทนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มากกว่าการลงทุนเพื่ออนาคต หรือการสร้างโอกาสทางการเงินที่มั่นคง มาดูกันว่าคนไทยเป็นหนี้อะไรกันบ้าง
ถึงเวลาปลดล็อกชีวิตทางการเงิน จัดการหนี้อย่างเป็นระบบ เพื่ออนาคตที่มั่นคง
หนี้สินอาจเป็นภาระที่หนักหน่วง แต่หากมีแผนการจัดการที่ดี คุณจะสามารถควบคุมและปลดหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาดูวิธีบริหารหนี้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อสุขภาพการเงินที่ดีขึ้น
การรวบหนี้ (Debt Consolidation) เป็นหนึ่งในวิธีจัดการหนี้ที่มีประสิทธิภาพ โดยช่วยให้คุณสามารถนำหนี้หลายก้อนมารวมไว้เป็นก้อนเดียว ไม่ว่าจะเป็น หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ หนี้บัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งสามารถใช้ทรัพย์สินเช่น บ้านหรือรถยนต์ เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อใหม่กับธนาคาร หรือสถาบันทางการเงิน เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้เดิม วิธีนี้ช่วยให้คุณลดภาระหนี้สินได้เร็วขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังสามารถใช้บ้านหรือรถยนต์ของคุณได้ตามปกติ
โดยสรุปข้อดีของการรวบหนี้มีอะไรบ้าง มาดูกัน
การปลดหนี้ให้สำเร็จต้องอาศัย วินัยทางการเงิน และ แผนการที่ชัดเจน หากเลือกใช้วิธีที่เหมาะสม คุณก็สามารถ Unlock ชีวิตหนี้ และก้าวสู่อนาคตทางการเงินที่มั่นคงได้อย่างแน่นอน! สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ CCAP เบอร์โทร: 092-256-6801
หรือแอดไลน์มาได้เลย คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap
Reference: https://www.ttbbank.com/th/fin-tips/detail/thais-debts-manage
เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมปัญหาหนี้ครัวเรือนยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่แก้ไม่ตกในประเทศไทย ซึ่งจากรายงานธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อในปี 2566 พบว่า ประเทศไทยมีปัญหาหนี้สินครัวเรือน ซึ่งมีทั้งหนี้ส่วนบุคคลและหนี้สินบัตรเครดิต ที่อยู่ในสัดส่วนสูงมาก คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของยอดหนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมดเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ
เพราะฉะนั้น CCAP จะมาแชร์พฤติกรรมทางการเงินของคนไทยที่นำไปสู่ของการเป็นหนี้ พร้อมวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้คุณต้องติดกับดักปัญหาหนี้เรื้อรัง!
แม้ไม่มีใครอยากเป็นหนี้แต่การกู้ยืมเงินไม่ใช่เรื่องผิดเสมอไปเพราะหนี้สินสามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างโอกาสและต่อยอดในอนาคตได้ หากบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตามการขาดความรู้ความเข้าใจและการบริหารที่ผิดพลาดอาจทำให้คุณติดอยู่ในกับดักหนี้สินโดยไม่รู้จบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาวนั่นเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์ดังกล่าว ลองมาทำความรู้จักกับ “8 ลักษณะพฤติกรรมที่คนไทยตกอยู่ในวงจรหนี้” เพื่อหาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า
หากคุณเผชิญปัญหาเหล่านี้ การจัดการหนี้อย่างถูกวิธีสามารถช่วยให้คุณหลุดพ้นจากวงจรหนี้และกลับมามีชีวิตที่มั่นคงได้!
การรวบหนี้ (Debt Consolidation) คือการรวมภาระหนี้หลายก้อนไว้ในที่เดียว เพื่อช่วยให้การชำระหนี้สะดวกขึ้น และลดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนน้อยลงโดยใช้รถยนต์หรือบ้านเป็นหลักค้ำประกันสำหรับการขอสินเชื่อกับธนาคารหรือสถาบันทางการเงินและนำที่ได้ไปปิดหนี้ก้อนอื่นได้ ซึ่งในระหว่างการชำระหนี้ คุณยังสามารถใช้รถยนต์หรือบ้านได้ตามปกติเหมือนเดิม
ตัวอย่าง นาย A มีรายได้เดือนละ 35,000 บาท มีหนี้ผ่อนชำระรวมขั้นต่ำจำนวน 27,700 บาท/เดือน โดยแบ่งหนี้เป็น 3 ก้อน ดังนี้
ในกรณีนี้หากคุณใช้รถยนต์ ปี 2018 มาค้ำประกัน โดยขอวงเงินสูงสุดที่ 327,000 บาท (ขึ้นอยู่กับการประเมินของธนาคาร) ในอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4.05% หากคุณเลือกผ่อน 60 เดือน คุณจะเหลือภาระที่ต้องจ่ายต่อเดือนเพียง 7,013 บาท
นั่นหมายความว่า ภาระต่อเดือนลดลงถึง 20,687 บาท เลยทีเดียว! จ่ายน้อยลง และยังเกิดสภาพคล่องทางการเงินขึ้นได้มากสมควร
เพราะฉะนั้น แนวทางในการแก้ไขควรเริ่มจากการจัดทำแผนการเงินอย่างเป็นระบบ ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ให้หลีกเลี่ยงการก่อหนี้ใหม่โดยไม่จำเป็น และควรเพิ่มวินัยในการออมเงินอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งควรจัดลำดับความสำคัญของการชำระหนี้ เพื่อฟื้นฟูความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวอย่างยั่งยืนต่อไป หากคุณสนใจสอบถามรายละเอียดการขอสินเชื่อ
สามารถขอคำปรึกษาติดต่อ CCAP แอดไลน์มาได้เลย คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap , เบอร์โทร: 092-256-6801
Reference : https://www.ttbbank.com/th/fin-tips/detail/8habits-of-people-with-debt
รถมอเตอร์ไซค์เป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินทุนได้เมื่อจำเป็น เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือ “จํานําทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์” ถือเป็นแนวทางการหาเงินทุนเร่งด่วนที่ง่ายและน่าสนใจไม่แพ้กัน
จำนำทะเบียนมอเตอร์ไซค์สามารถเสริมสภาพคล่องทางการเงินได้อย่างรวดเร็ว ทำได้สะดวกและดำเนินการไม่ยุ่งยากเพื่อเป็นตัวช่วยแก้ไขปัญหาทางการเงินที่ติดขัดให้กลับมาคล่องตัวกว่าเดิม
วันนี้เราก็ได้รวบรวมบทความเกี่ยวกับการจำนำเล่มทะเบียนมอเตอร์ไซค์มาบอกแบบครบวงจร ไปดูกัน!
ความหมายและข้อดีการจำนำทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์
การขอสินเชื่อรถมอเตอร์ไซค์ คือ การนำสมุดคู่มือจดทะเบียนเล่มสีเขียวหรือเล่มทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์มาขอสินเชื่อ โดยเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินต่างๆ ในขณะที่สามารถถือครองสินทรัพย์ควบคู่กับการใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ได้ตามปกติด้วย ซึ่งการจำนำเล่มทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์มี 2 ประเภท คือ การจำนำเล่มทะเบียนมอเตอร์ไซค์แบบโอนเล่ม และการจำนำเล่มทะเบียนมอเตอร์ไซค์แบบไม่โอนเล่ม
การจำนำเล่มทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์แบบโอนเล่ม คือ การกู้ยืมเงินโดยใช้เล่มทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์เป็นหลักประกันเช่นเดียวกัน แต่มีเงื่อนไขว่าเล่มสมุดทะเบียนรถคันนั้น จะต้องเปลี่ยนเป็นชื่อของสถาบันการเงินแต่มีข้อดีของการจำนำเล่ม และมีโอกาสที่จะได้วงเงินสินเชื่อสูงกว่าแบบไม่โอนเล่ม และได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ดีกว่า หรือถูกกว่า ทำให้การผ่อนชำระง่ายสบายกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทที่ปล่อยสินเชื่อนั้นด้วย
การจำนำเล่มทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์แบบไม่โอนเล่ม คือ การกู้ยืมเงินโดยใช้เล่มทะเบียนรถเป็นหลักประกันในการกู้ยืม แต่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ชื่อผู้ครอบครองรถแต่อย่างใด ชื่อบนสมุดยังคงเป็นชื่อเจ้าของรถเหมือนเดิม เพียงแต่ต้องวางเล่มทะเบียนไว้กับสถาบันการเงินเพื่อเป็นหลักประกันเท่านั้น เมื่อผ่อนชำระครบแล้วจะได้เล่มทะเบียนคืน ซึ่งมีข้อดี คือ ใช้เวลาดำเนินการสั้น ไม่ต้องเสียเวลาโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ครอบครองรถ
ข้อดีของการจำนำเล่มรถมอเตอร์ไซค์
– มีรถมอเตอร์ไซค์ใช้งานได้ตามปกติ เพราะผู้ขอสินเชื่อเพียงวางเล่มทะเบียนตัวจริงเป็นหลักประกันเท่านั้น
– ไม่ต้องใช้บุคคลหรือญาติพี่น้องมาเป็นคนค้ำประกัน เพียงใช้แค่เล่มทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์เท่านั้น
– อนุมัติเร็วทันใจ เอกสารน้อย เพราะการจำนำเล่มทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์เงื่อนไขค่อนข้างน้อย เพียงเป็นเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์ตัวจริง เอกสารครบถ้วน และมีคุณสมบัติตรงตามที่บริษัทสินเชื่อกำหนด ก็สามารถขอสินเชื่อได้ทันที
– อัตราดอกเบี้ยถูก ทำให้สะดวกต่อการปิดยอดได้ง่ายและรวดเร็ว
ขั้นตอนในการจำนำทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์
เป็นขั้นตอนที่ง่ายและสะดวกกว่าที่คิด เพียงแค่คุณเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่ออยู่ในเล่มทะเบียน มีสัญชาติไทย อายุระหว่าง 20-55 ปี ก็สามารถสมัครสินเชื่อได้ทันที โดยมีขั้นตอนการทำเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก ดังนี้
ขั้นตอน 1 การเลือกสถาบันการเงินหรือบริษัทสินเชื่อที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น วงเงินอนุมัติ ความน่าเชื่อถือ ความสะดวกในการเดินทาง และชื่อเสียง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าได้รับบริการที่ตอบโจทย์อย่างพึงพอใจ
ขั้นตอน 2 แจ้งรายละเอียดของมอเตอร์ไซค์ให้เจ้าหน้าที่ทราบทั้งยี่ห้อรถมอเตอร์ไซค์ รุ่น ปีที่ผลิต และตำหนิต่างๆ ทั้งหมด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีผลต่อวงเงินที่สถาบันการเงินหรือบริษัทสินเชื่อ จะอนุมัติให้
ขั้นตอน 3 หลังจากที่สถาบันการเงิน หรือบริษัทสินเชื่อแจ้งวงเงินอนุมัติที่ตรงกับความต้องการแล้ว ต่อมาต้องเตรียมเอกสารสำคัญสำหรับยื่นขอสินเชื่อโดยเอกสารที่จำเป็นสำหรับการจำนำทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ ได้แก่ บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้าน, เล่มทะเบียนรถตัวจริง และสมุดบัญชีธนาคารที่ต้องการให้โอนเงินเข้า
ขั้นตอน 4 เมื่อเอกสารครบถ้วนและทำเรื่องเรียบร้อยแล้ว ต่อไปคือรอผลอนุมัติจากสถาบันการเงิน หรือบริษัทสินเชื่อ ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้เวลาไม่นาน เพียง 1 วันทำการ ถึงจะทราบผล จากนั้นสถาบันการเงิน หรือบริษัทสินเชื่อจะโอนเงิน จำนวนที่ตกลงกันเข้าบัญชีธนาคารตามหลักฐานที่ยื่นขอสินเชื่อแล้วจะสามารถนำเงินไปใช้จ่ายได้ทันที
จำนำเล่มรถมอเตอร์ไซค์ที่ไหนดี?
หากคุณกำลังมองหาสถาบันการเงินหรือบริษัทสินเชื่อ สำหรับการจำนำเล่มรถมอเตอร์ไซค์ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกที่ไหนดี จากบทความข้อดีและขั้นตอนต่างๆ ที่ได้กล่าวไปแล้ว
ต่อไปคือหลักเกณฑ์ที่ควรพิจารณาในการเลือกผู้ให้บริการสินเชื่อ คือ
– ความน่าเชื่อถือ ควรพิจารณาผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการให้สินเชื่อ รวมถึงบริการจากพนักงานประจำที่ดี ควรเลือกผู้ให้บริการที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อความมั่นใจ
– อัตราดอกเบี้ย ควรตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ให้บริการกำหนดไว้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งค่างวดในการผ่อนชำระ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณสามารถชำระได้ตามที่ตกลงได้
คุณควรเลือกบริษัทที่น่าเชื่อถือในการปล่อยสินเชื่อที่มีเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ เพื่อให้คุณสามารถจัดการหนี้สินได้อย่างมั่นใจ ไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เพื่อให้การจัดการทางการเงินเป็นไปอย่างราบรื่นและมั่นคง
หากสนใจขอคำปรึกษาสินเชื่อจำนำทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์สามารถติดต่อ CCAP แอดไลน์มาได้เลย คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap , เบอร์โทร: 092-256-6801
Reference
พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์และออฟไลน์ กู้ซื้อบ้านอย่างไรให้ผ่านฉลุย
โลกในยุคปัจจุบันเปิดกว้างมากกว่าในสมัยก่อน ด้วยพลังเทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ทำให้เกิดอาชีพใหม่ๆอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ ยุคโลกการค้าออนไลน์ที่มีพ่อค้าแม่ค้าขายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย แต่การขายสินค้าไม่ว่าจะเป็นการขายแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ พ่อค้าแม่ค้าล้วนมีความใฝ่ฝันที่อยากจะมีบ้านหรืออยู่อาศัยเป็นของตนเองสักหลัง เช่น คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ หรือบ้านเดี่ยว
คงเป็นเรื่องยากสำหรับพ่อค้าแม่ค้า ที่สามารถซื้อได้ด้วยเงินสดเท่านั้น เนื่องจากบ้านเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงมาก ดังนั้น การที่จะได้เป็นเจ้าของบ้านสักหลังส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธีการกู้เงินจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงินซึ่งโดยส่วนใหญ่เหตุผลหลักๆที่กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าไม่ว่า มักถูกปฎิเสธจากสถาบันทางการเงินด้วยเหตุผลต่อไปนี้
1. กู้ซื้อบ้านไม่ผ่านเนื่องจากรายได้ไม่แน่นอน หรือรายรับไม่มั่งคง
โดยปกติพ่อค้า แม่ค้าขายสินค้าจะไม่มีสลิปเงินเดือนเหมือนกับพนักงานประจำ จึงต้องใช้สมุดบัญชีธนาคารเป็นข้อมูลในการเดินบัญชีย้อนหลัง(Book Bank) ซึ่งข้อมูลการเงินที่ธนาคารจะใช้ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ จะเป็นรายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือนขึ้นไปจนถึง 1 ปี เพื่อเป็นหลักฐานว่ามีความสามารถในการผ่อนสินเชื่อในระยะยาวได้หรือไม่ แต่เหตุผลที่มักถูกปฎิเสธในเรื่องนี้พบว่ากลุ่มพ่อค้า แม่ค้าหลายคนไม่มีเอกสารทางการค้า
ไม่มีการหมุนเวียนบัญชีธนาคาร หรือมีการหมุนเวียนน้อยมาก ทำให้ธนาคารไม่สามารถที่จะประเมินรายได้ที่แท้จริงได้ แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่มีรายได้หลายๆช่องทาง สามารถรวบรวมสมุดบัญชีย้อนหลังจากหลายธนาคารมายื่นพร้อมกันได้ เพื่อเป็นการใช้หลักฐานการันตีว่ารายได้ที่มาจากการขายสินค้า มีรายได้รวมเพียงพอ และมีกำไรจากการขายแท้จริงเท่าไร ที่จะช่วยให้ธนาคารพิจารณาการให้สินเชื่อได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การมีเอกสารทางการค้า และการหมุนเวียนบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ที่จะช่วยเป็นหลักฐานยืนยันความมั่นคงของรายได้เป็นอย่างดี ทำให้เพิ่มโอกาสในการขอสินเชื่อในการกู้ซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น
2. กู้ซื้อบ้านไม่ผ่านเนื่องจากมีภาระหนี้สินมากเกินไป และมีประวัติทางการเงินไม่ดี
การมีภาระหนี้สินที่มีมากมาย เช่น หนี้ผ่อนรถยนต์ ผ่อนบัตรเครดิตหลายใบ หนี้ผ่อนชำระสินค้า ฯลฯ ในส่วนนี้ธนาคารจะพิจารณาเป็นพิเศษว่าควรจะปล่อยกู้ให้ดีหรือไม่ ซึ่งทำให้มีโอกาสไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติได้ค่อนข้างสูง แต่การมีหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด และห้ามมีก็เป็นไปไม่ได้ เพราะถ้าหากมี “หนี้ดี” ก้อนนี้ก็สามารถกลายเป็นทรัพย์สินได้ในอนาคตที่สามารถมีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้
ในส่วนของการมีบัตรเครดิต หากมีบัตรจำนวนมากไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะเมื่อใดที่มีบัตรเครดิตเยอะ โดยใช้จ่ายเพลินรูดบัตรไม่ทันคิด ทำให้ควบคุมบริหารการเงินไม่ได้หรือมีผลต่อการผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตช้าก็อาจจะทำให้เสีย ประวัติทางการเงิน ซึ่งจะมีผลต่อการกู้ซื้อบ้าน เพราะฉะนั้นธนาคารจึงพิจารณาเป็นพิเศษ ควรจะต้องมีวินัยทางการเงิน และรักษาประวัติการชำระหนี้ให้ดีต่อเนื่อง
3. กู้ซื้อบ้านไม่ผ่านเนื่องจากการค้ำประกันหรือเป็นผู้กู้ร่วม
ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยกับการช่วยเหลือญาติในครอบครัว เช่น การค้ำประกันให้ญาติ หรือเป็นผู้กู้ร่วมกับญาติด้วยกัน ซึ่งหากญาติที่ไปค้ำประกันให้อาจจะมีประวัติการผ่อนชำระหนี้ไม่ค่อยดี คือ ผ่อนไม่ครบ ค้างชำระหนี้ หรือไม่ชำระเลย ตรงนี้จะทำให้มีผลเสียไปถึงคนค้ำประกันด้วย อาทิ วงเงินกู้ 3 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี ค่างวด 18,000 บาท และกู้ร่วมกัน 2 คน ธนาคารจะถือว่าแต่ละบุคคลมีภาระหนี้คนละ 9,000 บาท หรือหากกู้ร่วมกัน 3 คน เท่ากับว่าแต่ละคนจะมีภาระหนี้คนละ 6,000 บาท
ดังนั้นไม่ว่าจะค้ำประกัน หรือกู้ร่วมให้ใครก็ตาม จะต้องคิดให้รอบคอบเพราะจะทำให้เรามีหนี้ก้อนนี้ติดตัวไปด้วยจนถึงหมดระยะการผ่อน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ผู้ชำระหนี้เองก็ตาม และส่วนนี้ธนาคารจะนำมาพิจารณาประกอบการปล่อยกู้ซื้อบ้านของเราอีกด้วย
อยากกู้เงินซื้อบ้านต้องเตรียมตัวอย่างไร
เมื่อพ่อค้าแม่ค้าทราบเหตุผลทำไมสินเชื่อกู้ซื้อบ้านมักถูกปฎิเสธจากสถาบันทางการเงินแล้ว หากยังมีความต้องการที่อยากมีบ้านในฝัน และอยากเป็นเจ้าของบ้าน ขั้นตอนต่อไปคือ การกู้ซื้อบ้าน หรือขอสินเชื่อกับสถาบันทางการเงินหรือธนาคาร ต้องมีความพร้อมเตรียมตัวได้ดี มีข้อมูลแน่น และเตรียมเอกสารทุกอย่างให้ครบถ้วน ก็จะช่วยให้การขอกู้เงินเพื่อซื้อบ้านกับสถาบันทางการเงินหรือธนาคารนั้นง่ายไม่มีปัญหา สะดวก และได้รับการพิจารณาอนุมัติรวดเร็วด้วย มาต่อด้วยสิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนกู้เงินซื้อบ้าน มีอะไรบ้าง
1.เก็บรวบรวมเอกสารทางการค้าไว้ให้ดี – ไม่ว่าจะเป็นบิลซื้อหรือบิลขาย ทั้งบิลเงินสดหรือบิล VAT, ใบออเดอร์สั่งสินค้า, สัญญาว่าจ้างต่างๆ, รวมทั้งสัญญาเช่าแผงหรือร้านค้า ใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ฯลฯ เอกสารต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่มีค่า สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานเพื่อใช้ยืนยันความสม่ำเสมอของรายได้ ดังนั้น ต้องจัดเก็บไว้ให้ดี และนำมาแสดงเมื่อต้องการขอกู้เงินกับสถาบันทางการเงินหรือธนาคาร สำหรับบางรายที่ไม่มีเอกสารทางการค้า ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะธนาคารไม่ได้พิจารณาจากเอกสารทางการค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ใช้ในการพิจารณาอีกหลายปัจจัย ซึ่งจะได้กล่าวถึงในลำดับถัดไป
2.จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย เพื่อปิดรอยรั่วทางการเงิน – เพื่อจะได้รู้ว่าในแต่ละเดือนมีรายได้และค่าใช้จ่ายเดือนละเท่าใด มีกำไรเดือนละเท่าใด นอกจากจะนำมาเป็นเอกสารประกอบการขอกู้เงิน ยังช่วยให้รู้ว่าในแต่ละเดือนร้านค้าของเรามีจุดอ่อนตรงจุดใดบ้าง
3.เปิดบัญชีหมุนเวียนทางการค้า – เมื่อจัดทำบัญชีแล้ว ต่อมาต้องแยกบัญชีทางการค้าออกจากบัญชีที่ใช้ส่วนตัว พ่อค้าแม่ค้าหลายรายมีการใช้เงินปะปนกันไปมา โดยมีการนำเงินที่ใช้หมุนเวียนในร้านค้า (เงินที่ต้องใช้ซื้อสินค้ามาขาย) ถูกนำไปใช้จ่ายส่วนตัว ปัญหาที่ตามมาทันทีคือ ทำให้ขาดเงินหมุนเวียนหรือ ไม่มีเงินไปใช้ซื้อสินค้ามาขาย ส่วนใหญ่ต้องไปยืมจากเจ้าหนี้นอกระบบ จนหลุดเข้าสู่วงจรอุบาทว์ หรือจะเติมเงินส่วนตัวเข้าไปในธุรกิจ จนไม่ทราบสถานะที่แท้จริงของกิจการ ว่าจริงๆแล้วมีกำไรหรือขาดทุนกันแน่
4.ตั้งเป้าหมายบ้านที่ต้องการซื้อ – กำหนดประเภทบ้านที่ต้องการซื้อ เช่น ทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว อาคารพาณิชย์ จากนั้นกำหนดงบประมาณที่ต้องการซื้อ เพื่อประเมินจำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนและประเมินรายได้สุทธิหรือกำไรสุทธิต่อเดือน ได้ที่จะทำให้สามารถกู้เงินซื้อบ้านได้ ตัวอย่างเช่น ต้องการซื้อตึกแถว ราคาประมาณ 3 ล้านบาท โดยขอกู้เต็มจำนวน ระยะเวลาผ่อน 30 ปี ยอดเงินผ่อน 21,000 บาท/เดือน โดยต้องมีรายได้สุทธิหรือกำไรสุทธิอย่างน้อยเดือนละ 42,000 บาท
5.ฝึกสร้างวินัยการออม – เมื่อได้กำหนดเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว เรื่องที่ต้องทำต่อมาคือ ฝึกสร้างวินัยการออมด้วยการฝากเงินเข้าบัญชีเงินฝากทวีทรัพย์ ซึ่งบัญชีประเภทนี้กำหนดให้ต้องฝากเงินเป็นจำนวนเงินเท่าๆ กันทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง และต้องฝากอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 24 เดือน ด้วยรูปแบบการฝากเงินที่ต้องฝากเป็นประจำทุกเดือนจึงมีลักษณะคล้ายกับการผ่อนบ้านคือต้องผ่อนเท่าๆ กันทุกเดือนเหมือนกัน แต่จะแตกต่างในเรื่องของระยะเวลาการผ่อน ซึ่งคนที่ฝากเงินประเภทนี้ ต้องลองจินตนาการไปว่ากำลังผ่อนบ้านอยู่ แล้วลองดูว่าถ้าต้องฝากแบบนี้ไปเป็นระยะเวลา 20-30 ปี จะทนได้หรือไม่
สำหรับยอดเงินที่ต้องฝากควรมีจำนวนเงินที่ไม่น้อยกว่ายอดที่ต้องผ่อนเดือน จากตัวอย่าง ยอดที่ต้องผ่อนต่อเดือน คือ 21,000 บาท ดังนั้น จำนวนเงินฝากไม่ควรต่ำกว่า 21,000 บาทต่อเดือนเช่นกัน หากมีความสามารถในการฝากเงินที่น้อยกว่า ยอดเงินที่ต้องผ่อน ก็ไม่ต้องกังวล สามารถฝากเงินได้ตามกำลังความสามารถที่ทำได้ แต่ทั้งนี้ควรกลับมาทบทวนเเป้าหมายที่ตั้งมีความสอดคล้องกับความสามารถในการหารายได้หรือไม่
6.สำรวจตัวเองให้เรียบร้อยก่อนกู้เงิน – ด้วยการตรวจสอบเครดิตบูโร7 เพื่อดูสถานะหนี้ในปัจจุบันว่ามีสถานะอย่างไร มีการผ่อนปกติ หรือขาดผ่อน หรือถูกดำเนินคดีไปแล้ว ซึ่งเคสที่เคยพบบ่อยๆ บางคนจำไม่ได้ว่าเคยมีการกู้เงินแทนบุคคลคน ในครอบครัวหรือญาติพี่น้องเพื่อนำไปใช้จ่ายหรือไม่ หรือเคยมีการค้ำประกันให้ใครบ้างหรือไม่ ซึ่งในรายงานเครดิตบูโรจะบอกสถานะหนี้อย่างละเอียด หากพบว่าตนเองเป็นหนี้ที่มีปัญหาหรือกำลังถูกดำเนินคดี จะได้รีบจัดการแก้ไขหนี้สินหรือภาระ ค้ำประกันให้เรียบร้อยก่อนกู้เงิน หากมีข้อสงสัยเรื่องการอ่านรายงานเครดิตบูโร สามารถสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของสถาบันทางการเงิน
7.ไม่สร้างหนี้ใหม่โดยไม่จำเป็น – ภาระผ่อนที่เพิ่มขึ้นจะมีผลกับความสามารถในการซื้อบ้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากตัวอย่างข้างต้น หากต้องการซื้อตึกแถว ต้องมีภาระผ่อนต่อเดือน 21,000 บาท และมีรายได้สุทธิเดือนละ 42,000 บาท หากก่อนกู้ซื้อบ้าน ได้มีการไปซื้อรถกระบะ 1 คัน ผ่อนเดือนละ 10,000 บาท สมมติว่า
7.1 กรณีมีรายได้สุทธิเท่าเดิม ความสามารถในการผ่อนจะเหลือเพียงเดือนละ 11,000 บาท ทำให้สามารถกู้ซื้อบ้านได้ในราคา 1,570,000 บาท (มาจาก 11,000 X 1,000,000 ÷ 7,000) หรือ
7.2 กรณีต้องการซื้อตึกแถวที่มีราคาซื้อขายเท่าเดิม ต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมเดือนละ 42,000 บาท เป็นเดือนละ 62,000 บาท (มาจาก 21,000+10,000 = 31,000 ÷ 50%) หรือต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกเดือนละ 20,000 บาท
8.สร้างเครดิตที่ดีให้กับตนเอง – ด้วยการสมัครบัตรเครดิต โดยใช้เงินฝากออมทรัพย์ หรือเงินฝากประจำมาค้ำประกัน จำนวน 15,000 บาทขึ้นไป โดยแนะนำให้เลือกชำระเต็มจำนวน หลีกเลี่ยงการจ่ายชำระขั้นต่ำ และเลือกหักบัญชีอัตโนมัติเพื่อชำระบัตรเครดิต เพื่อป้องกันการลืมชำระเงินและเป็นการสร้างประวัติทางการเงินที่ดีหรือสร้างเครดิตที่ดีให้กับตัวเอง เพื่อจะทำให้การกู้เงินในอนาคตทำได้ง่ายขึ้น
สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ขายสินค้าออนไลน์หรือออฟไลน์ ที่ต้องการวางแผนกู้เงินเพื่อซื้อบ้านเป็นของตนเองสักหลัง หากมีความพร้อมในการเตรียมตัวที่ดีดังที่ได้กล่าวมาในบทความข้างต้น เพียงเท่านี้ก็จะช่วยทำให้การกู้เงินซื้อบ้าน ไม่ใช่เรื่องยาก ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยที่ไม่ต้องพึ่งพานายหน้าเถื่อนอีกด้วย
หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ CCAP คลิก 👉🏻 https://lin.ee/NEBc1fz , LINE ID: @helloccap , เบอร์โทร: 092-256-6801
Reference